วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รังผึ้งช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้

รศ.ดร.พรรณวิภา กฤษดาพงศ์ คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย เพื่อค้นหาสรรพคุณทางการแพทย์ของสารพรอพโพลิสจากรังผึ้ง กล่าวถึงที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้ว่า เริ่มจากเกษตรกรในจังหวัดเชียงรายนิยมปลูกผลไม้ ลำไย ลิ้นจี่ และเลี้ยงรังผึ้งบนต้นไม้ เมื่อได้น้ำผึ้งแล้ว ก็จะทิ้งรังผึ้ง ทางมหาวิทยาลัยจึงมีแนวคิดที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับรังผึ้ง และพัฒนาเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมได้อีกด้วย
โดยเริ่มศึกษาวิจัยหาคุณ ประโยชน์จากสาร “พรอพโพลิส” (Propolis) สารสกัดจากรังผึ้ง ที่มีลักษณะเหนียวข้นเป็นยาง (Resinous) ซึ่งได้มาจากยางของเปลือกไม้ที่ “ผึ้งงาน” รวบรวมไว้ และนำมาผสมกับไขผึ้งเพื่อซ่อมแซมรัง อุดรอยรั่ว ตลอดจนรักษาความสะอาดและป้องกันการระบาดของเชื้อโรคในรังของผึ้ง
ซึ่ง การเลี้ยงผึ้งในเพลทรังผึ้งจำลอง เพื่อศึกษาโครงสร้างพรอพโพลิสของผึ้ง จากนั้นก็ทำการวิเคราะห์และสกัดเอาสารที่เป็นประโยชน์มาใช้ โดยการสกัดสารพรอพโพลิสนั้นจะอยู่บริเวณทางเข้าของผึ้ง และวิเคราะห์ส่วนผสมพบว่า พรอพโพลิสประกอบด้วย ส่วนผสมของยางไม้และขี้ผึ้งประมาณร้อยละ 50-55 ขี้ผึ้งเหลืองร้อยละ 30 น้ำมันหอมร้อยละ 10-15 และละอองเกสรร้อยละ 5
และเมื่อศึกษาลึกๆลงไป พบสาระสำคัญที่ทำให้พรอพโพลิสเป็นสารปฏิชีวนะที่ดีที่สุดตามธรรมชาติ คือ สารประกอบฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) จากพืชที่มีคุณสมบัติต่อต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันต่อต้านเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา และมีคุณสมบัติยับยั้งการอักเสบได้ดี ในต่างประเทศยังนำพรอพโพลิสมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ ต่างๆ เช่น สบู่, ยาสีฟัน เพื่อช่วยป้องกันและยับยั้งแบคทีเรีย ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก.

ภาษาของผึ้ง

ภาษาของผึ้ง (The Language of the Bees)
การเต้นรำของผึ้งจะมีจังหวะสำคัญ ๆ อยู่ 2 แบบ คือ 
1. การเต้นรำแบบวงกลม (Round dance) โดยผึ้งจะเดินเป็นวงกลมเล็ก ๆ บน รวง เปลี่ยนทิศทางอยู่บ่อย ๆ ผึ้งจะเดินวนขวาเป็นวงกลมแล้วกลับวนซ้ายเป็นวงกลมอีกรอบหนึ่ง ผึ้งจะเต้นรำแบบนี้หลายวินาที หรือบางทีก็นานเป็นนาทีแล้วก็หยุด แล้วย้ายไปเต้นที่อื่นบนรวง ขณะที่ผึ้งทำการเต้นรำผึ้งตัวอื่น ๆ ก็จะเอาหนวดมาแตะตามลำตัวของผึ้งที่กำลังเต้นอยู่นั้น 
2. การเต้นรำแบบส่ายท้อง (Wag-tail dance) ผึ้งจะเดินเป็นรูปครึ่งวงกลมทาง ซ้ายแล้วเดินเป็นเส้นตรง พอถึงจุดเริ่มก็จะเลี้ยวขวา เดินเป็นรูปครึ่งวงกลม และเดินเป็นเส้นตรงทับกับการเดินครั้งแรก จนถึงจุดเริ่มต้น เรียกว่าเดินครบหนึ่งรอบ ช่วงขณะที่ผึ้งเดินเป็นเส้นตรงผึ้งจะส่ายส่วนท้องไปมา ขณะที่เต้นรำผึ้งตัวอื่น ๆ ก็จะให้ความสนใจล้อมรอบและใช้หนวดแตะ

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การผสมพันธ์ของผึ้ง

การผสมพันธุ์
            คือ พฤติกรรมที่ผึ้งตัวผู้จะบินออกไปผสมพันธุ์กับผึ้งนางพญากลางอากาศ ผึ้งจะบินออกไปผสมพันธุ์เมื่อมี อายุประมาณ 3-7 วัน ผึ้งตัวผู้บินออกไปเป็นกลุ่มและชอบทำเสียงแหลมซึ่งต่างจากผึ้งงาน เพราะความถี่ในการตีปีกต่างกัน ก่อนบินมันจะกินน้ำ ผึ้ง ทำความสะอาดหนวดและตาของมัน จากนั้นก็บินออกไปรวมกลุ่มกันก่อนยังบริเวณที่เรียกว่า "ที่รวมกลุ่มของผึ้งตัวผู้" ทันทีที่ได้กลิ่นจากผึ้งนางพญา ผึ้งตัวผู้จะรีบบินตามขึ้นไป ผึ้งตัวผู้ตัวแรกที่บินไปถึงก่อนจะได้ผสมพันธุ์กับ ผึ้งนางพญาเมื่อผสมพันธุ์เสร็จแล้วอว ัยวะสืบพันธุ์จะขาดจากตัว ทำให้ผึ้งตัวผู้ตกลงมาตาย ผึ้งนางพญาจะสลัดอวัยวะสืบพันธุ์ของผึ้งตัวผู้ออก และทำการผสมกับผึ้งตัวผู้ตัวต่อไปจนครบ 10 ตัว จึงจะบินกลับรัง โดยทั่วไปแล้วผึ้งนางพญาจะทำการผสมพันธุ์กับผึ้งตัวผู้จาก รังอื่นๆ ที่ต่างสายเลือดกันผึ้งนางพญาจ ะเก็บน้ำเชื้อตัวผู้ไว้ได้ถึง 5-6 ล้านตัว (อสุจิ) เพื่อใช้ผสมกับไข่ไปจนตลอดชีวิตโดยไม่ต้องบินไปผสมกับผึ้งตัวผู้อีกเลย 
             อะไรคือสิ่งที่ดึงดูดผึ้งตัวผู้ให้บินขึ้นไปหาผึ้งนางพญาได้ถูกต้อง? 
คำตอบคือ สารเคมีหรือเฟอโรโมนของผึ้งนางพญาจะทำให้ผึ้งตัวผู้มีพฤติกรรมตอบสนองทางเพศโดยบินเข้าหานางพญา สาร นี้จะทำงานเฉพาะเมื่อมันอยู่ภายนอกรังและอยู่สูงกว่าพื้นดินไม่น้อยกว่า 15 ฟุตเท่านั้น เมื่อหมดฤดูการผสมพันธุ์ อาหารหายาก ผึ้งงานจะกีดกันผึ้งตัวผู้จากการกินน้ำผึ้งที่เก็บไว้และลากมันออกมานอก รัง ผึ้งตัวผู้จะอดตายในที่สุด บางครั้งผึ้งงานอาจดึงตัวอ่อนที่จะเจริญเป็นผู้ตัวผู้ออกจากหลอดรวงและคาบออกนอกรังด้วย เมื่อเกิดขาดแคลนอาหารภายใน รัง


http://www.dkt.ac.th/kruya/50webm6/unit4/portlio/6226/page16.htm

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ลักษณะของน้ำผึ้งที่ดี

  1. มีความข้น และหนืดพอสมควร ซึ่งแสดงว่ามีน้ำน้อย น้ำผึ้งที่ดีไม่ควรมีน้ำเกินร้อยละ 21 หากมีน้ำเจือปนมากกว่านั้น จะทำให้จุลินทรีย์สามารถเจริญเติบโตและทำลายคุณค่าของน้ำผึ้งได้
  2. มีสีตามธรรมชาติ ตั้งแต่สีเหลืองอ่อนถึงสีน้ำตาล ใส ไม่ขุ่นทึบ
  3. มีกลิ่นหอมของน้ำผึ้งและดอกไม้ตามแหล่งที่ได้มา ปกติพืชที่ใช้ผลิตน้ำผึ้งมีหลายชนิด ที่นิยมคือ ลำไย ลิ้นจี่ และสาบเสือ น้ำผึ้งลำไยนับเป็นน้ำผึ้งที่มีรสหอมหวานเป็นพิเศษเหนือกว่าน้ำผึ้งจากพรรณไม้อื่นทั้งหมด
  4. ปราศจากกาก ไขผึ้ง หรือเศษตัวผึ้งปะปน รวมทั้งวัสดุต่าง ๆ แขวนลอยอยู่
  5. ปราศจากลิ่น รส ที่น่ารังเกียจอื่นใด หรือกลิ่นบูดเปรี้ยว ไม่มีฟอง
  6. ไม่มีการใส่สารปรุงแต่งสี กลิ่น รสใด ๆ ลงในน้ำผึ้ง

โรคของผึ้ง

1. โรคหนอนเน่าอเมริกัน (American Foulbrood Disease, AFB)            สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacillus larvae) โรคนี้มีผลเฉพาะตัวอ่อนเท่านั้น สปอร์จะเจริญในช่องทางเดินอาหารของตัวอ่อนที่ได้รับเชื้อนี้เข้าไป ตัวอ่อนจะตายในเวลาต่อมา ( 5-6 วันหลังจากรับเชื้อ) โรคนี้จะแพร่กระจายภายในรังผึ้ง และกระจายสู่รังอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากการขโมยน้ำผึ้งระหว่างผึ้งด้วยกัน 
อาการ ตัวอ่อนจะตายภายในหลอดรวงที่มีลักษณะของการปิดฝาผิดปกติ ได้แก่ ฝาบุ๋มลงไป และมีรูเล็ก ๆ มีกลิ่นเหม็นรุนแรง เมื่อมีการเน่าสลายจะมีลักษณะเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลเกือบดำ ทดสอบง่าย ๆ ด้วยวิธี stretch test โดยใช้ปลายไม้เล็ก ๆ เขี่ยตัวหนอนที่เน่าตาย แล้ว ค่อย ๆ ดึงก้านไม้ออก ตัวหนอนที่ตายจะยืดติดมากับปลายไม้ออกมา ตัวหนอนที่ตายและแห้ง จะเป็นสะเก็ดติดอยู่กับส่วนล่างของพื้นหลอดรวง เป็นสีดำหรือสีน้ำตาลดำ 
การป้องกันกำจัด โรคนี้เป็นโรคที่มีปัญหามาก มักจะใช้วิธีการทำลายผึ้งที่เป็นโรคพร้อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
2. โรคหนอนเน่ายูโรเบียน (Europian Foulbrood Disease, EFB)                สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Streptococcus pluton) มีรูปร่างกลม อยู่รวมกัน เป็นสายเหมือนลูกปัด เป็นเชื้อที่ไม่มีสปอร์ มีการแพร่กระจายของโรคเช่นเดียวกับหนอนเน่าอเมริกัน 
อาการ ตัวอ่อนที่ตายด้วยโรคนี้มีอายุไม่เกิน 4-5 วันหลังจากฟักออกจากไข่ เป็นระยะที่ยังขดตัวอยู่ที่ก้นของหลอดรวง ตัวอ่อนที่เป็นโรคจะมีสีเหลือง เทา หรือน้ำตาล ขณะที่เน่าสลายจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว การตรวจสอบให้ทำโดยใช้ไม้เขี่ยลงบนตัวหนอนที่กำลังเน่าสลาย ยกขึ้นช้า ๆ ตัวหนอนจะไม่ยืดออกมาเหมือนตัวหนอนที่เป็นโรคหนอนเน่าอเมริกัน เมื่อตัวหนอนแห้งตาย สะเก็ดของตัวอ่อนที่ตายจะไม่ติดกับผนังของหลอดรวง มีลักษณะเป็นแผ่นขนาดเล็ก ไม่เปราะหรือแตก สามารถถูกเคลื่อนย้ายได้ง่าย 
การป้องกันกำจัด กรณีเมื่อตรวจพบการระบาดในระดับปานกลาง สำหรับรังที่ อ่อนแอจะมีการเปลี่ยนผึ้งแม่รังตัวใหม่ หรือการเพิ่มจำนวน 2-3 คอน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและการ วางไข่ให้มากขึ้น จะเป็นการเพิ่มประชากรในรังและเพิ่มจำนวนผึ้งที่ทำหน้าที่ทำความสะอาดรัง ขนย้ายตัวที่เป็นโรคออกจากรัง และเป็นการเพิ่มความต้านทานโรคให้กับผึ้งด้วย ในกรณีที่พบว่าโรคนี้ เข้าทำลายมาก อาจจะมีการใช้สารออกซีเตตราไซคลิน ผสมกับน้ำตาลผงให้กับผึ้งในรังบริเวณเหนือคอนตัวอ่อน โดยใช้อัตราส่วน 1:20 หรือใช้สารโซเดียมซัลฟาไทอะโซล (sodium sulpha tiazole) 0.5-1.0 กรัม หรือใช้สารสเตรปโตมัยซิน (streptomysin) 0.2-0.6 กรัม ผสมกับน้ำเชื่อม 4 ลิตร ให้กับ รังผึ้งที่เป็นโรค 
โรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา
3.โรคชอลช์คบรูค (Chalkbrood, CB)                   สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา (Ascosphaera apis) ที่พบในประเทศไทยมีทั้งสายพันธุ์ที่สร้างสปอร์ (spore cyst) ทำให้ตัวหนอนผึ้งที่ตายถูกปกคลุมด้วยเส้นใยของเชื้อรา และสปอร์มีลักษณะเหมือนแท่งสี่เหลี่ยมสั้น ๆ สีดำ ส่วนอีกสายพันธุ์ไม่สร้างสปอร์ ทำให้ตัวหนอนผึ้งที่ตายถูกปกคลุมด้วยเส้นใยของเชื้อรา มีลักษณะคล้ายแท่งชอล์คสีขาว โดยปกติสปอร์จะไม่ทำให้เกิดโรคจนกว่าจะมีการเติบโตเป็นเส้นใย ซึ่งจะเจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 30-35 ?C ซึ่งเป็นอุณหภูมิปกติในรังผึ้ง 
อาการ ผึ้งที่ถูกเชื้อเข้าทำลายมีทั้งตัวอ่อนและดักแด้ ตัวอ่อนอายุ 3-4 วัน จะสังเกตเห็นอาการของโรคได้ โดยตัวอ่อนจะถูกปกคลุมด้วยเส้นใยของเชื้อราสีขาว และกลายเป็นมัมมี่ เมื่อเชื้อรามีการสร้างสปอร์สีดำขึ้น หรือมีลักษณะคล้ายเศษชอล์ค และเมื่อมีอาการระบาดอย่างรุนแรง จะมีตัวอ่อนที่ปิดฝาตายและแห้งอยู่ภายในหลอดรวง รังที่เป็นโรคนี้ในระดับที่รุนแรง จะพบว่ามีตัวอ่อนที่เป็นโรคแห้งตายตกอยู่ที่พื้นรังเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถตรวจพบโรคนี้ได้ง่าย 
การป้องกันกำจัด ยังไม่มีวิธีการควบคุมที่เชื่อถือได้ แต่ก็มีหลายวิธีที่ให้ผลในการป้องกัน ด้วยการรักษาผึ้งไว้ให้ปลอดภัยจากเชื้อโรคนี้ การทำให้รังผึ้งมีประชากรที่แข็งแรง ระบายอากาศที่ดี ไม่ให้มีความชื้นภายในรังสูง มีการเพิ่มตัวเต็มวัยที่เพิ่มออกจากหลอดรวงใหม่ ๆ ให้กับรังที่เพิ่งเริ่มเป็นโรคนี้ เพื่อช่วยทำความสะอาดรัง
4.โรคแซคบรูด (Sacbrood)                  อาการ เป็นการยากในการตรวจสอบดูเชื้อไวรัส ลักษณะอาการของโรค หลังจาก ที่ผึ้งเป็นโรคเข้าดักแด้ได้ 4 วัน หลอดรวงจะปิดฝาเรียบร้อย บริเวณส่วนหัวของตัวที่ตายจะมีสีดำ ลำตัวที่เป็นสีขาวใสจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีด ๆ จนเป็นสีน้ำตาลและสีดำในที่สุด เมื่อดึงตัวอ่อนออกจากหลอดรวงมาตรวจสอบ จะพบว่าตัวอ่อนตายอยู่ในถุง (sac) ภายในตัวอ่อนเต็มไปด้วยน้ำ และเมื่อแห้งจะเป็นสะเก็ดที่ติดอยู่อย่างหลวม ๆ กับผนังของหลอดรวง 
การป้องกันกำจัด ยังไม่มีสารเคมีใดที่ใช้ในการควบคุมกำจัดโรคชนิดนี้ได้ ผู้เลี้ยงผึ้งจึงควรจัดการสภาพภายในรังให้ดี มีการเปลี่ยนผึ้งแม่รังใหม่ การจัดการประชากรผึ้งให้แข็งแรง การเพิ่มประชากรผึ้งงาน 
โรคที่มีสาเหตุมาจากโปรโตซัว
5.โรคโนซีมา (Nosema disease)                 สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัว (Nosema apis) ซึ่งสืบพันธุ์โดยการใช้สปอร์ สปอร์เหล่านี้จะเข้าทำลายผึ้งเมื่อผึ้งกินเข้าไป เชื้อจะเจริญในทางเดินอาหาร สามารถเพิ่มจำนวนสปอร์ได้อย่างรวดเร็ว เชื้อนี้สามารถอยู่ในผึ้งแม่รังและแพร่กระจายได้โดยผึ้งแม่รังเป็นพาหะ 
อาการ ผึ้งที่เป็นโรคนี้ อาจมีอาการคล้ายเป็นอัมพาต ปล้องท้องยืดและบวมผิดปกติ ถ้าจับตัวที่เป็นโรคนี้มา ค่อย ๆ ดึงส่วนหัวและอกออกจากกันอย่างระมัดระวัง จะพบทางเดินอาหารบวมโต สีขุ่น แตกต่างจากผึ้งปกติ 
การป้องกันกำจัด แยกรังผึ้งที่เป็นโรคออกจากรังอื่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายไปสู่รังอื่น ๆ และใช้สารฟูมาจิลิน (fumagilin) อัตรา 25 มิลลิกรัมสารออกฤทธิ์ กับน้ำเชื่อม 1 ลิตร ในช่วงเวลาที่ผึ้งเกิดความเครียด จะเป็นการลดและป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อนี้ได้
http://www.learners.in.th/blogs/posts/196521

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อาการของผึ้งต่อง

อาการ เมื่อโดนผึ้งต่อยจะมีอาการแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับ
จำนวน
และ ตำแหน่ง ที่โดนต่อย
ซึ่งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ภายในของแต่ละคน ก็มีความรุนแรง
มากน้อยไม่เท่ากัน ซึ่งบางท่านอาจจะ มีอาการเพียงเล็กน้อย
เช่นบริเวณที่ถูกต่อยบวม ปวด แดงอยู่หลายชั่วโมง
ถ้ารุนแรงมากกว่านี้ อาการบวม ก็จะขยายกว้างขึ้นไป
สู่ส่วนอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง และเป็นอยู่หลายวัน
แต่ถ้ารุนแรงมากกว่านี้ ก็คือการเกิดอาการที่ระบบอื่น เช่น
ระบบทางเดินหายใจ
อาจทำให้กล่องเสียงบวม เสียงแหบ
หลอดลมหดตัว ทำให้หายใจลำบากคล้ายคนเป็นโรคหอบหืด
ระบบทางเดินอาหาร จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
ระบบไหลเวียนโลหิต นั้น จะทำให้ความดันเลือดต่ำ และที่รุนแรง
ที่สุดคือ อาการช็อค จากการแพ้ (Anaphylactic Shock)

http://www.thaitrip4u.com/Healthy/STH04.asp?QID=304

ผึ้งบำบัด

นิยามผึ้งบำบัด Apitherapy
          Apitherapy หมายถึง การบำบัด บรรเทา รักษาโรคและอาการโดยใช้ผลิตภัณฑ์ผึ้ง อันได้แก่ น้ำผึ้ง เกสรผึ้ง นมผึ้ง พรอพอริส ไขผึ้ง และพิษผึ้ง
          การรักษาโดยใช้ผึ้งนั้นมีมายาวนาน และเริ่มเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยปรัชญาพื้นฐานของการบำบัดนั้น มีแนวคิดหรือปรัชญาพื้นฐานในการใช้วิถีทางธรรมชาติในการบำบัดโรค ที่เรียกว่าอาหารเป็นยาก่อให้เกิดพลังต้านโรค เป็นการรักษาแบบองค์รวม ไม่ได้มองแค่จุดที่เจ็บป่วยเพียงจุดเดียว แต่มองว่าร่างกายทุกส่วนมีความสัมพันธ์และเกี่ยวโยงกันหมด ฉะนั้นการรักษาก็ต้องรักษาทั้งระบบ นำมาซึ่งความสมดุลในการบำบัดและทำให้ร่างกายทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ ผึ้งบำบัด (Apitherapy) ยังมุ่งเน้นการกระตุ้นพลังงานในร่างกายและเลือดลมให้ไหลเวียนได้ดีขึ้น เมื่อการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น อาการเจ็บป่วยต่างๆ ก็ค่อยๆหายไป ซึ่งเป็นหลักการบำบัดรักษาโรคโดยวิถีทางธรรมชาติอย่างแท้จริง
          ผึ้งบำบัดประกอบด้วยสองประการ ประการที่หนึ่ง คือการใช้พิษผึ้งโดยการฝังตามจุดบน ลมปราณด้วยเหล็กในผึ้ง โดยจะต้องควบคู่ไปกับประการที่สอง คือบริโภคผลิตภัณฑ์อื่นๆซึ่งเพื่อส่งผลต่อการบำบัดอาการหรือโรคได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในการรักษาโรคเรื้อรังซึ่งอาจจะต้องได้รับการฝังเข็มด้วยเหล็กในผึ้งเป็นเวลาหลายๆครั้ง
         ารใช้ผลิตภัณฑ์ผึ้งควบคู่ไปกับการฝังเข็มด้วยเหล็กในผึ้งนอกจากจะทำให้บำบัดเต็มประสิทธิภาพยังส่งผลให้มีการ ขับพิษที่ตกค้างในร่างกายอันเนื่องมาจากการฝังเข็มด้วยเหล็กในผึ้งและลดผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นจากผึ้ง ซึ่งหากไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ผึ้งควบคู่ไปกับการฝังเข็มด้วยเหล็กในผึ้ง จะทำให้การบำบัดต้องใช้เวลานานกว่าการฝังเข็มด้วยเหล็กในผึ้งเพียงอย่างเดียว อีกทั้งการฝังเข็มด้วยเหล็กในผึ้งเพียงอย่างเดียวอาจทำให้การบำบัดไม่เต็มประสิทธิภาพ

http://www.bigbeefarm.com/thai/apitherapy.htm